
ทำความเข้าใจตลาดฟอร์เร็กซ์ในฐานะนักเทรด
อะไรคือการเทรดฟอเร็กซ์และเราจะที่เริ่มต้นการเข้าสู่ตลาดให้ดีที่สุดได้อย่างไร
การเทรดฟอเร็กซ์ คือความพยายามที่จะแสวงหาผลกำไรจากการผันแปรของอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างสองสกุลเงิน ฟอร์เร็กซ์เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีการดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันศุกร์ ประมาณกันว่าในการเทรดแต่ละวันมีมูลค่าราวล้านล้านยูเอสดอลลาร์
มีเหตุผลที่ดีหลายประการที่ทำให้หลายคนสนใจเริ่มต้นซื้อขายฟอเร็กซ์ ตั้งแต่สภาพคล่องที่สูงในตลาด ต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ ไปจนถึงความยืดหยุ่นที่เกิดจากคู่สกุลเงินที่หลากหลายและวิธีการซื้อขายที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่การเทรดชนิดที่คุณจะกระโจนลงไปและทำกำไรได้อย่างง่ายๆ
ขั้นแรก คุณจะต้องรู้ว่าการเทรดฟอเร็กซ์นั้นประกอบด้วยงานวิเคราะห์หลายรูปแบบและคุณจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่กระจ่างและแน่นอนก่อนที่จะลงมือเทรด สิ่งแรกที่จะต้องที่จะเรียนรู้คือ มูลค่าที่แตกต่างของแต่ละของคู่เงินที่มีอยู่ในตลาด ในขณะที่คุณสามารถเลือกการเทรดของคู่เงินใดก็ได้ แต่โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มดังนี้
- กลุ่มหลัก (Major currency pairs) คือ ยูโร/ยูเอสดอลล่าร์ (EUR/USD) ยูเอสดอลล่าร์/แคนาดาดอลล่าร์ (USD/CAD) ยูเอสดอลล่าร์/เยนญี่ปุ่น (USD/JPY) ออสเตรเลียดอลล่าร์/ยูเอสดอลล่าร์ AUD/USD) นิวซีแลนด์ดอลล่าร์/ยูเอสดอลล่าร์ (NZD/USD) ปอนด์อังกฤษ/ยูเอสดอลล่าร์ (GBP/USD) และยูเอสดอลล่าร์/ฟรังก์สวิส (USD/CHF) เหล่านี้นี้คือกลุ่มที่มีสภาพคล่องสูง เป็นที่นิยมและเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด คุณจะเห็นได้วา ยูเอสดอลล่าร์จะอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของคู่เงินเสมอ แสดงถึงความสำคัญของสกุลเงินนี้ในตลาดฟอเร็กซ์
- กลุ่มรอง (Minor currency pairs) จะไม่มียูเอสดอลล่าร์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะมีสกุลเงินหลักเป็นคู่ เช่น ยูโร/ออสเตรเลียดอลล่าร์ (EUR/AUD) ปอนด์อังกฤษ/เยนญี่ปุ่น(GBP/JPY) นิวซีแลนด์ดอลล่าร์/เยนญี่ปุ่น (NZD/JPY) ปอนด์อังกฤษ/ออสเตรเลียดอลล่าร์ (GBP/AUD) กลุ่มนี้มีสภาพคล่องต่ำกว่ากลุ่มหลัก แต่ก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีในการเทรดจากความต้องการที่ยังคงที่ในระดับหนึ่ง
- กลุ่มพิเศษ (Exotic pairs) ประกอบด้วยหนึ่งสกุลเงินหลัก เช่น USD หรือ EUR และสกุลเงินอื่นที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการเทรด เช่น ยูเอสดอลล่าร์/สิงคโปร์ดอลล่าร์ (USD/SGD) ยูเอสดอลล่าร์/ฮ่องกงดอลล่าร์ (USD/HKD) และยูโร/ลีราตุรกี (EUR/TRY)
กลยุทธ์พื้นฐานในการเทรดฟอเร็กซ์
เราจะเริ่มการเทรดฟอเร็กซ์ได้อย่างไร วิธีที่ดีที่สุดสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดคือการทำความเข้าใจกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วย
- Scalping คือการทำกำไรน้อยแต่สม่ำเสมอจากการเทรดหลายครั้งในหนึ่งวัน การเทรดแบบนี้ต้องทุ่มเทเวลาอย่างมาก เนื่องจากต้องศึกษาแผนภูมิและตัวชี้วัด เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (moving averages) รวมถึงระดับแนวรับและแนวต้าน (support and resistance levels) อย่างละเอียด.
- Day trading เช่นเดียวกับ Scalping แต่มีจำนวนการเทรดไม่มากในหนึ่งวัน จุดสำคัญในแผนการเทรดแบบนี้คือ การปิดการเทรดก่อนหมดวัน คุณอาจเปิดและปิดเพียงครั้งเดียวแทนที่จะเป็นหลายครั้งในหนึ่งวัน วิธีนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการศึกษาและวิเคราะห์แผนภูมิอย่างละเอียดเพื่อความเข้าใจทิศทางของตลาดก่อนทำการเปิดการเทรด
- Swing trading เป็นความพยายามที่จะบ่งชี้การแกว่งตัวของตลาดและพยายามทำกำไรจากมัน แต่ละการเทรดอาจใช้เวลาหลายวัน หมายความถึงความอดทนต่อความเสี่ยงต่อการสูญเสียในการเคลื่อนไหวของราคาข้ามคืน คุณจำเป็นต้องอาศัยแผนภูมิแท่งเทียนและแผนภูมิแบบแท่งเพื่อหาจุดในการเข้าและออกในการทำกำไรอย่างฉลาด
- Position trading เป็นอีกทางเลือกในการเทรดฟอเร็กซ์ วิธีการนี้ คือ คุณจะใช้เวลาในการเทรดให้นานขึ้น ซึ่งหมายถึงเป้าหมายของคุณคือการทำกำไรในระยะยาว ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์มากเท่าแบบระยะสั้น การเทรดแบบนี้จะเน้นในการวิเคราะห์แบบพื้นฐานมากว่าแบบเทคนิค
สัญญาณในการเทรดฟอเร็กซ์คือการนำไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ คำแนะนำเหล่านี้ดูเหมือนจะช่วยให้ทำกำไรได้ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะเป็นไปตามนั้นเสมอ อย่างไรก็ตาม มันก็ยังจำเป็นสำหรับนักเทรดหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดและยังขาดประสบพการณ์เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงกลไกของตลาดได้อย่างถูกต้อง
แต่ละกลยุทธ์สามารถนำไปใช้ร่วมกับตัวบ่งชี้เฉพาะทางและเครื่องมือเพื่อช่วยให้นักเทรดเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของตลาด ความช่วยเหลือของเครื่องมือเหล่านี้สามารถช่วยลดผลกระทบจากลักษณะการซื้อขายที่รวดเร็ว และสนับสนุนการตัดสินใจซื้อขายอย่างมีตรรกะและเป็นไปอย่างมีระบบ
ตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งที่เป็นที่นิยมกัน คือ Bollinger Bands ซึ่งใช้การเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเคลื่อนที่เฉลี่ยเพื่อบ่งชี้การเคลื่อนไหวของตลาดและแสดงสัญญาณสภาวะสูงและต่ำของตลาด Relative Strength Indicator (RSI) ก็เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันอีกตัวหนึ่งในการวัดความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาของของสินทรัพย์เพื่อระบุแนวโน้มและแรงกดดันว่ามีการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคและการเคลื่อนไหวของราคาก็นิยมในการใช้งานโดยทั่วไปเช่นกัน เช่น simple moving averages บนแผนภูมิแท่งเทียนและ stochastic oscillator เพื่อบ่งชี้ถึงโมเมนตั้มของราคา นักเทรดสามารถเลือกใช้ตัวบ่งชี้ที่หมาะสมเช่น ระดับแนวรับและแนวต้านและ average true ranges เพื่อช่วยยืนยันในการตัดสินใจ

MACD (Moving Average Convergence Divergence) เป็นตัวบ่งชี้โมเมนตั้มที่นิยมใช้กันในการ Swing trading เพื่อบ่งชี้ถึงศักยภาพแนวโน้มขึ้นหรือลง (uptrends or downtrend) และบ่งชี้ถึงจุดเข้าออก (entry and exit points) นักเทรดทุกคนจะต้องมีตัวบ่งชี้และเครื่องมือที่เหมาะสมต่อกลยุทธ์การเทรดของตัวเองซึ่งอาจขึ้นอยู่กับการสถานะของการเทรดและสภาพการเงินในขณะนั้น

พลังของการวิเคราะห์แบบบนล่าง

นักเทรดมักจะถูกดึงดูดให้มีแนวโน้มที่จะเริ่มการเทรดคู่เงินคู่ใดคู่หนึ่งเมื่อได้เริ่มเรียนรู้การเทรดรดฟอเร็กซ์ อย่างไรก็ตาม แม้แต่นักเทรดที่มีประสพการณ์และชั่วโมงบินสูงก็ยังยังต้องอาศัยการวิเคราะห์แบบบนล่างเพื่อหาบริบทที่สำคัญและเป็นข้อมูลในการการตัดสินใจ ซึ่งหมายความถึงการขยายให้เห็นภาพรวมของตลาดก่อนที่จะบีบให้แคบลงเพื่อมุ่งความสนใจไปยังการเทรดแบบใดแบบหนึ่ง
การวิเคราะห์แบบบนล่างจะเป็นการตรวจสอบแผนภูมิข้อมูลในแบบระยะยาว เช่นแผนภูมิแบบวันหรือสัปดาห์ เพื่อบ่งชี้แนวโน้ม และด้วยความรู้นี้ นักเทรดสามารถนำมาใช้ตรวจสอบแผนภูมิในระยสั้น เช่น หนึ่งชั่วโมงหรือสามหรือสี่ชั่วโมง
ข้อมูลเหล่านี้จะสร้างภาพรวมทิศทางของตลาด แนวโน้มและกิจกรรมที่อยู่รอบการเคลื่อนตัวแบบกระทิง (bullish)และหมี (bearish) ทั้งยังช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการถูกชักจูงจากอิทฺธิพลการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นอย่างไม่จำเป็น โดยการพิจารณาข้อมูลที่กว้างขึ้นผ่านมุมมองเชิงเทคนิคในเชิงลึก
การวิเคราะห์แบบบนลงล่างที่มีประสิทธิภาพจะชี้ถึงระดับแนวรับและแนวต้านเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยง (risk management) เช่นการตั้งจุดหยุดการสูญเสีย (stop-loss levels) รวมถึงจุดเข้าออกตลาด การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะให้ภาพของการขึ้นลงแบบหลักหรือรองรวมทั้งโมเมนตั้มแบบกระทิงหรือหมีเพื่อให้ภาพความเข้าใจของทิศทางโดยรวมของตลาด
ขบวนการการวิเคราะห์แบบบนล่าง (Top-Down)
การพิจารณาภาพรวมของสถานะเศรษฐกิจคือจุดเริ่มต้นของขบวนการวิเคราะห์แบบบนล่างของตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งหมายถึงความเข้าใจถึงตัวแปรระดับมหภาค เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวม อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยเริ่มจากการพิจารณาช่วงเวลาระยะยาวและการตอบสนองของตลาดต่อสถานะการณ์ แล้วจึงตีกรอบการพิจารณาให้แคบเข้าสู่ช่วงเวลาที่สั้นกว่า
นโยบายทางการเมืองในแต่ละภูมิภาคถือเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์เช่นกัน โดยเราจะเริ่มด้วยการให้ความสนใจไปยังภาพรวมของสภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ นโยบายของธนาคารกลางซึ่งมีผลกระทบต่อมูลค่าเงินของประเทศ
การวิเคราะห์ทางทางเทคนิคในระดับที่เหมาะสมจะช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์แบบบนล่างขณะที่เราค้นหาแนวโน้มของตลาดเพื่อหาจุดเข้าออกที่แม่นยำ สำหรับผู้เริ่มต้นการซื้อขายฟอเร็กซ์ วิธีนี้อาจเป็นแนวทางที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้คุณใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการทำความเข้าใจตลาดก่อนที่จะเริ่มทำการซื้อขายครั้งแรก
ตัวอย่างการวิเคราะห์แบบบนล่างในตลาดฟอเร็กซ์
สมมุติว่าคุณสนใจที่จะเทรดคู่เงิน GBP/USD ซึ่งเป็นคู่เงินที่ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและมีข้อมูลจำนวนมากให้เลือกใช้ในตลาดการเงินทั้งในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เราสามารถพิจารณาแนมโน้มในอดีตของสกุลเงินนี้และมุ่งความสนใจไปยังการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด
ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดและนโยบายของธนาคารกลางจะสะท้อนอยู่ในบทวิเคราะห์ ที่พบได้ทางออนไลน์สำหรับคู่สกุลเงิน GBP/USD ณ เวลาที่เขียนนี้ กิจกรรมการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวในสหราชอาณาจักรถูกเน้นให้เห็นชัดเจน ขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะชะลอตัวลง และไม่มีสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางสหรัฐ
การพิจารณารายงานล่าสุดและข้อมูลทางเศรษฐกิจ ไม่อาจช่วยให้คุณทราบถึงทิศทางของตลาดได้อย่างเพียงพอ ถ้าเช่นนั้น มันจะมีความหมายอย่างไรในแง่ของการตัดสินใจซื้อและขาย ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการพิจารณาชาร์ตที่ถูกต้องและใช้ตัวชี้วัดเพื่อเติมเติมช่องว่างและเพื่อความเข้าใจว่าควรจะดำเนินการเทรดในรูปแบบใด
กรณีศึกษา การเทรดฟอเร็กซ์ด้วยข้อมูล
คุณได้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการรวบรวมกลยุทธ์พื้นฐานในการเทรดฟอเร็กซ์ด้วยการวิเคราะห์แบบบนล่างเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างกระจ่างเกี่ยวกับตลาดและบริบทของเศรษฐกิจโลก ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อขายบนคู่สกุลเงินที่สนใจ เราสามารถแสดงให้เห็นถึงความสำคัญการเทรดฟอเร็กซ์ด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพจากกรณีศึกษาของตลาดญี่ปุ่นจากเดือนกรกฎาคม 2024

จากการผันผวนของค่าสกุลเงินเยนอ่อนลงในรอบ 38 ปีต่อสกุลเงินดอลล่าร์ ญี่ปุ่นจึงดำเนินการแทรกแซงด้วยวงเงิน 36.8 พันล้านดอลล่าร์หรือ 5.35 ล้านล้านเยนเพื่อเร่งการแข็งค่าของเงินเยน นับเป็นการแทรกแซงค่าเงินครั้งแรกของญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 โดยดำเนินการหลังจากเผชิญแรงกดดันมาหลายเดือน ซึ่งเงินเยนอยู่ในภาวะอ่อนค่าจากการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนมีนาคม 2024.
ค่าเงินเยนได้กลับเข้าสู่ปกติอย่างรวดเร็วที่ค่า150 ต่อดอลลาร์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมเทียบกับเมื่อต้นเดือนที่ 161.96 ต่อดอลลาร์ ความผันผวนนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาพรวมทางการเงิน โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008.
สรุป
ตอนนี้คุณคงเข้าใจพื้นฐานของการเทรดฟอเร็กซ์แล้วและต้องการจะทดลองด้วยตัวเองเพื่อดูว่ามันเหมาะกับบุคลิกของคุณหรือไม่โดยไม่หวั่นไหวต่อการขึ้นลงของมัน ลักษณะของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วอาจไม่เหมาะกับทุกคน แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการซื้อขายในสไตล์นี้ มันสามารถมอบความพึงพอใจอย่างมากและมีโอกาสสร้างผลกำไรที่ดีได้
ถ้าคุณเริ่มหลงไหลกับกับสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ข้างต้นนี้ ขั้นต่อไปคือการนำเอาทฤษฎีมาปฏิบัติ เริ่มจากการทำการวิเคราะห์แบบบนล่างเพื่อให้คุ้นเคยกับตลาดและเริ่มรู้สึกว่ามีความพร้อมที่จะเทรด
หลังจากนั้น คุณสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ในการเทรดที่เหมาะสมจากความรู้ที่เรียนมามีซึ่งมีจุดเด่นที่เหมาะสมกับรูปแบบของนักเทรดแต่ละคน คุณจะต้องทำการทดลองเพื่อดูว่าวิธีการใดที่เหมาะกับตัวคุณมากที่สุด
ดำเนินการทดลองต่อไปเพื่อเก็บข้อมูลซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวคุณและเพิ่มระดับการเรียนรู้ แต่อย่าลืมว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นความสำคัญลำดับต้น สถานะการณ์อาจแปรเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วในตลาดฟอเร็กซ์ซึ่งแม้แต่ข้อมูลที่ดีเยี่ยมก็ไม่อาจนำมาซึ่งผลตามที่คาดหวัง ดังนั้น คุณจำเป็นต้องเตรียมกลยุทธ์ในการออกเช่นกัน การใช้การควบคุมเช่น คำสั่งตัดการขาดทุน (stop-loss) จะช่วยให้เงินทุนของคุณอยู่ในระดับปลอดภัย ความการเข้าใจที่จะใช้มันอย่างเหมาะสมก็คือขั้นตอนในลำดับถัดไป
จำไว้: การซื้อขาย CFD เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง แต่ด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ใจจิต และเครื่องมือที่เหมาะ การซื้อขายสามารถมองว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ มาเริ่มจากการทำงานร่วมกัน เพื่อเปิดทองซื้อขายที่มีศักยภาพเต็มที่ของคุณ